AMDAR Programme เป็นระบบอัตโนมัติที่ทำการบันทึกและรายงานผลการตรวจข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาจากอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ติดตั้งกับเครื่องบิน
ซึ่งเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ราวต้นปี 90 ทำการประมวลผลข้อมูลด้วย
Software Avionics AMDAR แล้วส่งผ่านระบบสื่อสารของเครื่องบิน
ACARS (Aircraft Communications Addressing and Reporting System) กลับมายัง NMHS ( National Meteorological and Hydrological
Services ) ที่เป็นสถานีรับภาคพื้นดิน
ตามรูปที่ 1 ดำเนินงานตามโครงการขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( WMO) และประเทศภาคีสมาชิก ร่วมมือกับบริษัทสายการบินที่เป็นพันธมิตรร่วมกัน
(ในปัจจุบันนี้มี 40 สายบิน) เพื่อดำเนินการประมวลผลและตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลตามข้อกำหนดของทาง
WMO เพื่อให้ได้ข้อมูล Upper Air Data ที่เป็น
Near Real Time ในทุกสนามบินหลักของแต่ละประเทศ
ก่อนส่งกระจายออกสู่ระบบสื่อสาร GTS ต่อไป
AMDAR
Software สามารถทำงานได้ดีกับเครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ ที่มีระบบ ACARS
ซึ่งปัจจุบันตามโครงการของ WMO
มีใช้อยู่ 2 Platforms คือ
-
AOSFRS (AMDAR Onboard Software (AOS)
Functional Requirements Specification)
-
ARINC 620 AOS (Aeronautical
Radio Incorporated specification 620‐7
(ARINC 620) AMDAR Onboard Software)
การจัดการข้อมูล
AMDAR
ข้อมูลที่ส่งจากเครื่องบินมายัง
NMHS ( National Meteorological and Hydrological Services ) ภาคพื้นดิน โดยทางระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือ คลื่นวิทยุความถี่สูง (
VHF, HF) จะถูกบริหารจัดการเพื่อคัดกรองคุณภาพก่อนที่จะทำการแปลงรหัสออกมาเป็นข้อมูลเพื่อส่งกระจายออกไปยังภาคีสมาชิกทั้งของ
WMO และสายการบินที่เป็นพันธมิตรร่วมในโครงการ ทางการสื่อสารระบบ
GTS ในรูปแบบเดิมเป็น Text Format (FM42) และรูปแบบที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบันเป็น
BUFR Code Format (FM94)
การบันทึกข้อมูลและรายงานจะเริ่มจากสนามบินต้นทาง
จนถึงสนามบินปลายทาง ดังรูปที่ 2 ข้อมูลจะมีการรายงานทั่วไปในขณะเครื่องบินขึ้น/ลง:
เป็นลำดับคือ
- ระดับล่างของชั้นบรรยากาศ
รายงานในช่วงทุก10 hPa หรือ ทุก 6/60 วินาที
- ช่วงระยะกำลังไต่ระดับบินขึ้นไปถึงระดับเพดานบิน:
รายงานในทุกช่วง 50
hPa หรือทุก 20/60 วินาที
- การรายงานในขณะที่บินในเส้นทาง:
ช่วงการรายงานในเวลาทุก 3 - 7 นาที
ข้อมูลที่รายงานโดยเครื่องบินพาณิชย์ในปริมาณมากนี้จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์
เพื่อการบริการงานทางด้านอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา (NMHSs),
อุตสาหกรรมการบิน นักวิจัย และผู้ใช้อื่น ๆ โดยที่การจัดการข้อมูลของสภาพอากาศประเภทนี้
ทางองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดโครงการ AMDAR เพื่อมาทำการรวบรวมข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากเครื่องบิน
ประมวลผลและกระจายออกไปยังหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรใช้ประโยชน์ คือ:
•โปรไฟล์มีรายละเอียดสูงของค่าอุณหภูมิอากาศ
ทิศทางและความเร็วลม แต่ละสนามบิน
•รายงานค่าของตัวแปรอุตุนิยมวิทยาจากเครื่องบิน
ตามระดับบินในเส้นทางบิน
•ตำแหน่งละติจูด
ลองจิจูด ระดับความสูงตามความกดอากาศ ของเวลาที่ทำการบันทึกจากเครื่องบิน
•Turbulence และ Icing
• ความชื้นชั้นบรรยากาศ
(ยังมีเฉพาะในบางเที่ยวบิน)
คุณภาพของข้อมูล AMDAR เป็นไปตามข้อกำหนดของ WMO
-
Variable Uncertainty Temperature ±1.0°C
-
Wind vector ±2–3 m/s
-
Pressure altitude ±4 hPa
รายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.wmo.int/pages/prog/www/GOS/ABO/AMDAR/AMDAR_System.html

ประโยชน์ด้านอุตุนิยมวิทยา
สามารถนำมาประยุกต์ใช้
เพื่อการพยากรณ์อากาศของการเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญ ในช่วง 48
ชั่วโมงข้างหน้า โดยเฉพาะข้อมูลที่ใกล้เคียงกับระดับเพดานความสูงที่ทำการบินของเครื่องบินพาณิชย์โดยทั่วไป
เช่น
-การคาดหมายอุณหภูมิ
ทิศทางและความเร็วลม ที่ระดับผิวพื้นไปถึงระดับบรรยากาศชั้นบน
-คาดหมายบริเวณเกิดการก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนองและความรุนแรง
-บริเวณที่มีความปั่นป่วนของกระแสอากาศ
(Turbulence)
-บริเวณที่เกิดลมเฉือนและระดับความรุนแรง
-การเกิดหมอก
หรือ เมฆชั้นต่ำ ๆ
-บริเวณแนวกระแสลมแรง
เป็นต้น
รวมทั้งการนำมาใช้ปรับปรุงการคาดหมายของการระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข
(NWP)
ให้มีความแม่นยำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่ง การคาดหมายลมและอุณหภูมิ
ที่ระดับใกล้เคียงกับระดับทำการบินของเครื่องบินพาณิชย์ ที่ความสูงของความกดอากาศที่
200-300 hPa
และระดับช่วงทำการลดเพดานบินลงมาที่ 500 hPa
ข้อมูลเหล่านี้ยังใช้สำหรับการติดตามสภาพภูมิอากาศประจำถิ่น
ประเทศ และระดับโลก และการประยุกต์เพื่อการพยากรณ์ นอกจากนี้ยัง ใช้สำหรับการวิจัย
เช่นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความร้อนในชั้นบรรยากาศ
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์
ประโยชน์ด้านกิจการบิน
การเข้าร่วมใน
AMDAR
นำไปสู่ประโยชน์ที่ทราบกันดีและมีความสำคัญของการพยากรณ์ทางอุตุนิยมวิทยาและการบริการด้านการบิน
โดย NMHS ทำการกระจายข้อมูล AMDAR โดยอัตโนมัติไปยัง NMHSs อื่น
ๆ ที่เป็นสมาชิกของ WMO ที่เป็นศูนย์ ต่าง ๆ ของการดำเนินงานแบบจำลอง
เช่น ECMWF และ WAFCsสามารถดำเนินการวางแผนการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพจากต้นทาง-ปลายทาง
สายการบินที่อยู่ในเขตข้อมูลน้อย
ย่อมมีแนวโน้มที่จะเห็นผลกระทบมากใน การบริการที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์อากาศและ NWP
โดยข้อมูล AMDAR จะเพิ่มประโยชน์และประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับสายการบิน
เป็นหลักใหญ่ คือ
-
ลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดจากผลกระทบจากสภาวะอากาศที่ทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบิน
-
ความแม่นยำของการพยากรณ์ลักษณะอากาศในเส้นทางการบิน
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยผู้โดยสารและทรัพย์สิน
-
การคาดหมายลมชั้นบนที่ดีสามารถช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในแต่ละเที่ยวบินเพื่อการประหยัดพลังงาน
-
มีการตรวจสอบติดตามการทำงานของอุปกรณ์เซนเซอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องบิน
-
ลดผลกระทบมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม
-
AMDAR
data in NWP – HKO Experience
ในการดำเนินการระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข ( Numerical Weather
Prediction) ของฮ่องกง ในแบบ Meso-Scale มีข้อมูลอากาศชั้นบนที่เป็นผลการหยั่งอากาศ
(Upper Air Sounding) จำนวน 1305 รายงานต่อวัน และข้อมูลจาก AMDAR
จำนวน 106236 รายงานต่อวัน โดยจะทำการ Update ข้อมูลเข้าสู่ระบบทุก 3 ชม.
ในปัจจุบันนี้ฮ่องกงได้ทำการปรับปรุงข้อมูลของ AMDAR ที่ Generated
แล้วส่งผ่านระบบ GTS เป็นในรูปแบบของ BUFR
Code (FM94) และเพิ่มปริมาณการรับข้อมูล AMDAR มาจากเครื่องบินเพื่อทำการ Generateในxปริมาณความถี่ที่สูงมากขึ้น
ตัวอย่าง
ประโยชน์ที่สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค นำเสนอผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมในโปรแกรม: AMDAR
-
การจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศรุนแรงในแต่ละเที่ยวบิน เช่น
Turbulence
-
บริหารระยะเวลาได้ถูกต้องในการบินไปยังจุดหมายปลายทาง
-
การวางแผนเที่ยวบินและการใช้เชื้อเพลิงที่แม่นยำมากขึ้นตามระยะทางที่บิน
เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นแก่นักบินที่จะลดความเสี่ยงในสถานการณ์ฉุกเฉิน
-
มีข้อมูลลมที่ดีมากยิ่งขึ้นสำหรับการไต่ระดับบิน
-
มีข้อมูลพยากรณ์สภาพอากาศ ที่ถูกต้องมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการขึ้น/ลงของแต่ละเที่ยวบิน
โดยมีข้อมูลจากรายงานของเครื่องบิน CX จำนวน 34 ฉบับต่อวัน และมีข้อมูลจากเครื่องบิน
KA จำนวน24 ฉบับต่อวัน โดยมีข้อตกลงร่วมในการส่งรายงานข้อมูล
AMDAR ให้แก่ HKO อย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในการปรับปรุงในการพยากรณ์อากาศ
- ASIA Region II AMDAR status update
ปัจจุบันในภูมิภาคเอเชีย RA II มีเพียง
4 ประเทศที่ได้ดำเนินการในโปรแกรม AMDAR ของทาง WMO แล้วก็คือ
- จีน มีพันธมิตรร่วม
4 สายการบิน
- ฮ่องกง มีพันธมิตรร่วม
2 สายการบิน
- ญี่ปุ่น มีพันธมิตรร่วม
2 สายการบิน
- เกาหลีใต้ มีพันธมิตรร่วม
2 สายการบิน
สำหรับในภูมิภาค
Asia
Pacific & SE Asia ( ยกเว้น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ฮ่องกงและจีน)
มีข้อมูลน้อยมากไม่ถึง 1 % เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานของโครงการ
พบว่ามีเพียง 9
เมืองที่มีรายงานข้อมูล AMDAR โดยที่สิงคโปร์มีปริมาณข้อมูลสูงสุดที่จำนวน 221 รายงานต่อสัปดาห์
การพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย
RA
II
§ จีนได้พัฒนาจากส่งข้อมูลในรูปแบบของ
Text
Format มาเป็น BUFR Code
§ ฮ่องกงได้เพิ่มขยายการ
Generated
ข้อมูลเพื่อทำการกระจายออกสู่ช่องทาง GTS จากจำนวน
9 ฉบับ เป็น 50
ฉบับ รวมทั้งเพิ่มปริมาณความถี่การนำเข้าข้อมูลเพื่อประมวลผลเป็นทุก
3 วินาที
§ มีเพิ่มการรายงาน
Windshear
§ JMA,
HKG, UAE-MET มีการดำเนินการก้าวเข้าสู่ Mode -S
- Water Vapour Measurement
สำหรับอุปกรณ์การตรวจวัดความชื้นในบรรยากาศ
ได้มีการติดตั้งแล้วสำหรับเครื่องบินแบบใหม่ ๆ ของบริษัทผู้ผลิตทั้ง AIRBUS
และ BOEING จะทำให้ได้รับข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์มากในการคาดหมายลักษณะอากาศและการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข
(NWP) โดยเครื่องมือนี้ติดตั้งได้กับเครื่องบินทุกแบบ
ในปัจจุบันดำเนินการแล้วในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา
- Other Aircraft Based Observation
System
ระบบส่งข้อมูลผ่าน
ADS-C
( Automatic Data Surveillance, Contract), ADS-B ( Automatic Data Surveillance, Broadcast),
Mode-S และ Troposphere AMDAR (TAMDAR)
ADS-C ผ่านการเชื่อมโยงทาง
ATSU (Air Traffic Services Unit) or AOC ตามที่กำหนดใน ANNEX
3 /Chapter 5 และในคู่มือ ICAO Doc. 8896
ระบบAFIRS (Automated Flight Information Reporting System)
ใช้ในออสเตรเลีย
-Data
from Air Navigation System : ADS-B and HKO
ฮ่องกงได้มีการติดตั้งเครื่องรับระบบ
ADS-B
ในปี 2016 จาก ADS-B พัฒนาสู่การใช้
Mode-S Downlink ที่มีขีดความสามารถที่สูงเพิ่มขึ้น
เพื่อที่จะประมวลผลและส่งข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาได้
ตัวอย่าง ข้อมูลจาก AMDAR
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น